Guest Relation

Local news

Published on ตุลาคม 17th, 2014 | by Divali

0

การรับฟังความคิดเห็นโครงการขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่

การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียและทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ครั้งที่ 3 หรือ ค.3 สำหรับโครงการขยายกำลังผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่ โดยใช้ถ่านหินสะอาดเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า มีผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นกว่า 1,500 คน

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม2557 ตามที่ กฟผ. ร่วมกับ บริษัทที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดประชุม ค.๓โครงการขยายกำลังโรงไฟฟ้ากระบี่ ณ ศาลาประชาคม อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ โดยมีนายสมควร ขันเงิน ปลัดจังหวัดกระบี่ เป็นประธานในการประชุม ซึ่งบรรยากาศภายในงานเป็นไปด้วยความคึกคัก ตัวแทนทุกภาคส่วนมีโอกาสร่วมแสดงความคิดเห็นคนละ 5 นาที จำนวน 62 คน โทั้งผู้สนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดและผู้ที่คัดค้าน

ผู้มีส่วนได้เสียที่เห็นด้วยกับการขยายกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้ากระบี่ เพราะเข้าใจถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนในภาคใต้ที่เพิ่มขึ้นทุกปีรวมถึงเหตุการณ์ไฟดับทั่วภาคใต้เมื่อปี พ.ศ. 2556 เนื่องจากกำลังการผลิตไม่เพียงพอ ทำให้มองเห็นถึงวิกฤติพลังงานในอนาคตอันใกล้ ในปัจจุบันภาคใต้ต้องนำไฟฟ้าจากภาคกลาง และประเทศมาเลเซียมาใช้ ดังนั้น การสร้างโรงไฟฟ้าใหม่จึงเป็นการแก้ปัญหาที่ดี ส่วนเรื่องความกังวลว่าการใช้ถ่านหินจะทำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพนั้น เชื่อว่าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดของโรงไฟฟ้าจะมีความทันสมัยและปลอดภัย และถ่านหินที่นำมาใช้ก็เป็นถ่านหินคุณภาพดีที่นำเข้าจากต่างประเทศจึงมั่นใจในความปลอดภัยที่มีต่อชุมชนรอบโรงไฟฟ้า

แต่สิ่งที่ชาวกระบี่ก็ต้องการจาก กฟผ. ตลอดไป คือความจริงใจต่อชุมชน โดยเฉพาะผู้บริหารที่มีอำนาจในการตัดสินใจ รับฟังความคิดเห็นจากชุมชนในทุกๆด้าน เข้าใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน นำเสนอข้อมูลที่เป็นจริงทั้งด้านบวกและด้านลบ มีการวางแผนการทำงานงานที่ชัดเจน อนุญาตให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงาน มีการพิจารณาค่าชดเชยที่สมเหตุสมผล และขอให้รับบุตรหลานในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเข้าทำงานที่ กฟผ. ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ส่วนผู้ที่ไม่เห็นกับการขยายกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้ากระบี่ ด้วยเพราะมีความกังวลด้านสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นจากผลกระทบของสารเคมีที่จะเกิดขึ้นจากระบบการผลิตมาทำลายระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยกล่าวว่า ในรายงานงานฉบับเต็มของ กฟผ. ยังขาดข้อมูลพื้นฐานทางด้านสุขภาพ ไม่ได้ระบุว่าสารแคดเมี่ยมและสารหนูนั้น ทำให้ก่อมะเร็ง รวมถึงการก่อสร้างสะพานและการใช้เรือลำเลียงถ่านหิน จะทำลายทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและสัตว์น้ำ

อย่างไรก็ตาม กฟผ. ยืนยันว่า ทุกความคิดเห็นจากทุกฝ่าย กฟผ. จะนำมารวบรวมเพื่อหาแนวทางวางมาตรการป้องกัน การแก้ไขผลกระทบ ตลอดจนมาตรการตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาโครงการให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นเพื่อสร้างความเจริญอย่างยั่งยืนให้กับชุมชนต่อไป

ข้อมูล :  ฐิติภัทร์ ภาณุไพศาล


About the Author



Comments are closed.

Back to Top ↑