Guest Relation

Local news

Published on มิถุนายน 9th, 2014 | by Divali

0

ชะนีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองกำหนดไว้ตามกฎหมาย สัตวฺป่าเลี้ยงลูกด้วยนม ลำดับ ที่ 120

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน….คณะเจ้าหน้าที่สังกัดอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 5 ( นครศรีธรรมราช ) ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทุ่งทะเล เขตรักษาพันธุ์สัตวืป่าเขาประบางคราม อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา – หมู่เกาะ พีพี และเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองกระบี่ สาขาเกาะ พีพี

ได้ร่วมการออกตรวจและปราบปรามการกระทำผิดกฏหมายว่าด้วยการป่าไม้บนเกาะ พีพีดอน บริเวณ อ่าวต้นไทร ม. 7 ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ ตามที่นักท่องเที่ยวร้องเรียนทางระบบอิเล็กทรอนิค ว่ามีการนำชะนี มาแสดงโชว์ และ ถ่ายรูปกับนักท่องเที่ยวบนเกาะ พีพี ซึ่งเป็นของนาย ร่อหีม สุขเกษม และนาย ยูโสบ ภักดี และ นายรังสรรค์ สิทธิศักดิ์ ที่มีชะนีในครอบครอง รวมทั้งหมด 5 ตัว

ชะนีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองกำหนดไว้ตามกฎหมาย สัตวฺป่าเลี้ยงลูกด้วยนม ลำดับ ที่ 120 และชะนีดังกล่าวไม่มีหลักฐานการได้มา ชอบด้วยกฎหมาย การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสัตว์ป่า ฐานมีไว้ในครอบครอง….

*********************************************************************************

ชะนี (วงศ์: Hylobatidae; อังกฤษ: Gibbon) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับวานร (Primates) เป็นลิงไม่มีหาง ซึ่งชะนีถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ Hylobatidae และถูกจัดให้เป็น 1 ใน 4 ลิงที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด (ประกอบไปด้วย ชะนี, ชิมแปนซี, อุรังอุตัง, กอริลลา ซึ่งชะนีมีความใกล้เคียงมนุษย์น้อยที่สุดในบรรดาทั้ง 4 นี้ เนื่องจากมีแขนขาเรียวยาว มีฟันเขี้ยวที่แหลมคม และใช้ชีวิตหากินอยู่บนต้นไม้มากกว่าพื้นดิน) ซึ่งนับว่าชะนีมีแขนที่ยาวที่สุดในบรรดาสัตว์อันดับวานรทั้งหมด และมีฟันที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า

มีทั้งหมด 4 สกุล (แต่ข้อมูลบางแหล่งอาจใช้เพียงสกุลเดียว คือ Hylobates[5]) แบ่งได้ออกเป็น 12 ชนิด 10 ชนิดพบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 2 ชนิด พบในเอเชียใต้และจีนตอนใต้

สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 4 ชนิด คือ

ชะนีมือดำ (Hylobates agilis)
ชะนีมือขาว (Hylobates lar)
ชะนีมงกุฏ (Hylobates pileatus)
ชะนีเซียมัง (Symphalangus syndactylus)

ชีววิทยาของชะนีส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ โดยอยู่กันแบบครอบครัวที่มีผัวเดียวเมียเดียวไปตลอดชีวิต (อายุขัยโดยเฉลี่ย 25-30 ปี โดยที่ชะนีตัวเมียมีลูกได้สูงสุด 5 ตัว ตลอดอายุขัย[6]) แต่อยู่เป็นฝูง ฝูง ๆ หนึ่งมีสมาชิกตั้งแต่ 2-5 ตัว ชะนีมีแขนที่ยาวและแข็งแรงรวมทั้งมือ ใช้สำหรับห้อยโหนต้นไม้จากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งอย่างคล่องแคล่ว อาหารของชะนีหลัก ๆ คือ ส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ใบไม้, ผลไม้และดอกไม้ เป็นต้น แต่อาจจะกินสัตว์ขนาดเล็กได้เพื่อเพิ่มโปรตีน โดยปกติแล้วชะนีจะใช้ชีวิตแทบทั้งหมดอยู่บนต้นไม้สูง จะลงมาพื้นดินก็แค่ดื่มน้ำหรือเหตุอย่างอื่น ซึ่งตามปกติชะนีจะดื่มน้ำโดยการควักล้วงจากโพรงไม้หรือเลียตามใบไม้

ชะนีเป็นสัตว์ที่มนุษย์รับรู้ดีว่า มีเสียงร้องที่สูงและดังมาก มีหลายโทนเสียงและหลายระดับหลากหลายมาก สำหรับติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งแต่ละชนิดก็ร้องแตกต่างกันออกไป โดยเสียงร้องของชะนีมักจะร้องว่า “ผัว ๆ ๆ ๆ ๆ” ทั้งตัวเมียและตัวผู้ ดังนั้น คำว่า “ชะนี” จึงเป็นศัพท์สแลงในหมู่กะเทยที่หมายถึง ผู้หญิงแท้ ๆ

ชะนีทุกชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2535

เชื่อว่าการถูกชะนีกัด หรือข่วนมีโอกาสติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี จากชะนีได้ หากผู้ที่ถูกกัดไม่มีภูมิต้านทานโรค ( วิกิ พีเดีย ) (รูปภาพ 5 รูป)


About the Author



Comments are closed.

Back to Top ↑