Guest Relation

Environment

Published on มิถุนายน 23rd, 2016 | by Divali

0

การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันธุรกิจด้วยแนวคิดการพัฒนากระบวนการและการจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน”

สผ.ร่วมกับ GGGI จัดฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ”การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันธุรกิจด้วยแนวคิดการพัฒนากระบวนการและการจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน” ภายใต้โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคอุตสาหกรรม

เมื่อวันพุธที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.ณ ห้องธารา โรงแรมมารีไทม์ ปาร์ค แอนด์ สปา รีสอร์ท อำเภอเมืองจังหวัดกระบี่ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ Global Green Growth Institute (GGGI) จัดฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ”การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันธุรกิจด้วยแนวคิดการพัฒนากระบวนการและการจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน” ภายใต้โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคอุตสาหกรรมโดยมีนางณัฐฎนิช อัศวภูษิตกุล ผู้อำนวยการกลุ่มวิเคราะห์และพัฒนากลไก สำนักงานประสารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการอบรมฯโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลการศึกษา ข้อค้นพบและบทสรุป ตลอดจนประสบการณ์และผลสำเร็จที่ได้จากการดำเนินโครงการฯ มาถ่ายทอดให้แก่ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความจำเป็นของการดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีส่วนร่วมของส่วนต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นหนึ่งในมิติของการพัฒนากระบวนการและการจัดการอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นางณัฐฎนิช อัศวภูษิตกุล ผู้อำนวยการกลุ่มวิเคราะห์และพัฒนากลไก สำนักงานประสารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ตามที่ประเทศไทยกำลังมุ่งไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low-Cerbon Society) ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ และแผนแม่บทด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฉบับปี พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๙๓ ดังนั้นประเทศไทยจึงจำเป็นต้องดำเนินนโยบายและแผนต่างๆ ให้สอดรับกับแนวทางดังกล่าว รวมทั้งทุกภาคส่วนต้องสามารถนำไปปฏิบัติให้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆของทุกภาคส่วน รวมถึงภาคอุตสาหกรรม ที่มักถูกมองว่าเป็นสาเหตุในลำดับต้นๆของการใช้ทรัพยากรและพลังงาน รวมถึงการจัดการของเสียที่ส่งผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณสูง อย่างต่อเนื่อง ภารกิจสำคัญนี้ ต้องเกิดจากความร่วมมือกันของทุกฝ่ายตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงหน่วยงานปฏิบัติการ รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ที่จะช่วยผลักดันให้งานด้านต่างๆ ในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมของประเทศบรรลุผลสำเร็จ และประเทศไทยเป็นสมาชิกลำดับที่ ๒๖ ของ GGGI อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๙ ในอนาคตประเทศไทยก็จะได้รับความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานจาก GGGI ตามพันธกิจอย่างต่อเนื่อง

ในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ ๒๑ หรือ COP21ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๘ ประเทศไทยได้ประกาศข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายหลังปี ค.ศ. ๒๐๒๐ (Intended Nationaity Determined Contribution : INDCs) โดยสภาพเป้าหมายขั้นต่ำที่ร้อยละ ๒๐ จากกรณีฐาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับประชาคมโลกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมาย ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศไทยจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง ในการบูรณาการและการขับเคลื่อนกระบวนการคิด วิเคราะห์ และวางแผนตลอดจนการบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

ภาพและข่าว : ไพฑูรย์ ล่องเพ็ง

Tags:


About the Author



Comments are closed.

Back to Top ↑