Guest Relation

Flowers

Published on มกราคม 10th, 2014 | by Divali

0

ต้นสำโรง…ต้ไม้ ที่หายาก…

ชื่อท้องถิ่น: ต้นสำโรง
ชื่อสามัญ: Bastard poom , Pinari
ชื่อวิทยาศาสตร์: Sterculia Foetida L.
ชื่อวงศ์: Sterculiaceae
ลักษณะวิสัย/ประเภท: ไม้ยืนต้น
ลักษณะพืช:
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30เมตร ผลัดใบ
เรือนยอดรูปไข่ ถึงทรงกระบอก ลำต้นเปลาตรง โคนมีพูพอนต่ำๆ
เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา

ใบ ใบประกอบรูปนิ้วมือ กางแผ่ออกจากจุดเดียวกัน
เรียงเวียนจากจุดเดียวกัน เรียงเวียนตอนปลายกิ่ง ใบย่อย5-7 ใบ รูปรี
หรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3.5 – 6 ซม.ยาว 10 ซม.- 30ซม.
ปลายใบแหลมหรือมีติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบหนา ใบเกลี้ยง
เส้นแขนงใบข้างละ 17-21 เส้น ก้านใบประกอบยาว 13-20 ซม.
ก้านใบย่อยยาว3-5 ซม.

ดอก สีแดงหรือสีแสด มีกลิ่นเหม็นมาก ออกรวมเป็นช่อ แบบช่อแยก
แบบช่อแยก แขนงที่ปลายกิ่ง หรือซอกใบ ปลายกิ่งช่อดอกยาว 10-30ซม.
กลีบเลี้ยง5กลีบ ปลายม้วนออก ดอกบานเต็มที่ กว้าง 2-2.5 ซม.

ผล ผลแห้งแตกรูปไต เปลือกแข็งเหมือนไม้ สีแดงปนน้ำตาล
ผิวมันและเกลี้ยงเมื่อ แก่แตกเป็นสองซีกกว้าง6-9ซม. ยาว8-10 ซม.
เมล็ดสีดำมันรูปขอบขนาน กว้าง .3ซม.ยาว 2.5ซม.
ระยะการเป็นดอกผล ดอก พย.-ธค. , ผล มค.-เมย.

นิเวศวิทยา ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง สูงจากระดับน้ำทะเล 100-600 เมตร

การใช้งานด้านภูมิทัศน์ ดอกเด่นและผลเด่น แต่ดอกมีกลิ่นเหม็นมาก
ควรปลูกให้ไกลที่พักอาศัย และทางเดินในสวน และควรอยู่เหนือลม

ปริมาณที่พบ: น้อย
การขยายพันธุ์: ใช้เมล็ด
อธิบายวิธีการเพาะ/ขยายพันธุ์: –
การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์: ด้านเนื้อไม้แปรรูป ใช้ทำกระดาน เครื่องเรือน หีบใส่ขอบ รองเท้าไม้ ไม้บาง ไม้จิ้มฟัน ไม้อัด ทำหูก เปลือกใช้ทำเชือกหยาบ ๆ เมล็ดใช้จุดไฟ

ด้านเป็นพืชอาหาร ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ผลสุกใช้รับประทานเป็นอาหารนกและสัตว์เล็ก ๆ ชอบกินเป็นอาหาร

ผล มีรสหวาน รับประทานได้

เมล็ด สกัดน้ำมันแล้วใช้ปรุงอาหารและใช้จุดไฟ

ด้านสมุนไพร ส่วนที่ใช้เป็นสมุนไพรและสรรพคุณ คือ

เปลือกต้น มีรสฝาดสุขุม กล่อมเสมหะและอาจม แก้บิดปิตธาตุ แก้โลหิตและลมพิการ

ใบ รับประทานเป็นยาระบาย

ผล รสฝาด สมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้ไตพิการ แก้ท้องร่วง แก้บิด

เปลือกฝัก รสฝาด เผาเป็นด่าง รับประทาน แก้โรคไตพิการ แก้ลำไส้พิการ แก้ปัสสาวะพิการ

ด้านการเป็นไม้ประดับ ความน่าสนใจของไม้ต้นนี้คือ เป็นต้นไม้ที่มีรูปทรงลำต้นเปลาตรง มีโครงสร้างเรือนยอดเป็นเหมือนร่ม กิ่งก้านแตกตั้งฉากลำต้นจากจุดเดียวกันเป็นฉัตร มีพุ่มใบหนาทึบ รูปใบแปลกตาและให้สีสันสวยงาม เมื่อเป็นใบอ่อนสีน้ำตาลแดง จนถึงใบแก่สีเขียว พอใกล้ร่วงกลับให้สีเหลืองสดใส มีผลแก่สีแดงส้มเด่นดี มักจะนิยมปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาในสถานที่กว้าง ๆ เช่น วัด โรงเรียน ริมถนน เป็นไม้ป่าที่หายากมากขึ้น ๆ เพราะว่าที่ดินถูกบุกรุกเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ใช้ปลูกเป็นหมวดหมู่กลุ่มใหญ่ ๆ ให้ความแปลกตาและให้ร่มเงาได้ดีมาก
แหล่งที่พบ: ตำบลหัวถนน
ข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม: –
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ได้: มกราคม-เมษายน
แหล่งที่มาของข้อมูล: –
คำช่วยค้นหา(keyword): –
ผู้บันทึกข้อมูล: ปัณชญา วิเศษ
วันที่บันทึกข้อมูล: 7/17/2010 9:57:54 AM
วันที่แก้ไขล่าสุด: –
จำนวน view: 5226 ครั้ง

สถานะการตรวจสอบ: ยังไม่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง

ภาพ : บริเวณจุดถ่ายภาพ ถนนโรแมนติค กระบี่ อ่าวนาง..

Tags:


About the Author



Comments are closed.

Back to Top ↑